สสส. ร่วมลงนามแสดงปฏิญญา กับภาคีเครือข่าย ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย ภายใต้คอนเซ็ปท์ “Move more-Get more-Together” wร้อมยืนยันเจตจารมณ์ และยึดมั่นในอุดมการณ์ ช่วยให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอต่อการป้องกันโรคภัย และมีสุขภาวะที่ดี
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีร่วมลงนามแสดงปฏิญญากับภาคีเครือข่ายกระทรวงสาธารณสุข (ส5.) ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้นกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและลังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคี้เครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกขน ประชาสังคม วิชาการ ชุมชนท้องถิ่น ในการส่งกิจกรรมทางกาย การเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย ภายใต้คอนเช็ปต์ “Move more Getmore Together” ที่ห้อง MR 208 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566
ดร.นายแพทย์ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. พร้อมด้วยภาคีด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายทั้งในประเทศไทย ได้แก่ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กองนโยบายการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ที่แพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามแสดงปฏิญญา
เพื่อเป็นการยืนยันเจตจารมณ์ยึดมั่นในอุดมการณ์ และเป้าหมายร่วมกันในการสานพลังบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อฟื้นฟูให้คนไทยทุกกลุ่มทุกคนมีโอกาส และความตระหนักในการเข้าถึงความรู้ พื้นที่สุขภาวะ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอต่อการป้องกันโรคภัยและมีสุขภาวะที่ดี ทั้งด้านกาย จิตปัญญา และสังคม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Move more Getmore Together” เพื่อส่งเสริมให้คนไทยร่วมกันออกกำลังก้าวไปให้ข้างให้มากกว่า เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีกว่าไปด้วยกัน
โดย ตร.นพ.พโรจน์ เสาน่วม ได้กล่าวว่า จากข้อมูลงานวิจัยของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิตลพบว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการมีกิจกรรมทางกายลดลง ดังนั้น สสส. จึงสานพลังภาคีส่งเสริมกิจกรรมทางกายบนวิถีใหม่ เพื่อนำไปสู่การพื้นฟูกิจกรรมทางกายให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิตล ได้สรุปและสังเคราะห์องค์ความรู้จากการประชุมวิขาการในครั้งนี้เพื่อนำไปสู่แนวทางการฟื้นฟูกิจกรรมทางกายของคนไทย โดยมีประเด็นที่น่าสนใจภายใต้สองหัวข้อหลัก คือ Active People และ Active System/ policy ดังนี้
หัวข้อ Active People ประกอบด้วยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรอบรมผู้นำสุขภาพในสถานทีทำงานเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในประชาชนวัยทำงาน โดย รต.นพ.เพชร รอดอารีย์ (เครื่อข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย), การเดินมากกว่า 5,000 ก้าวต่อวัน ช่วยลดความเสียงการหกลัมในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่ำและอาศัยอยู่ในชุมชนเมือง โดย รค.ดร.กภ.ขุติมา ชลายนเดชะ (คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล), การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะในบริบทประเทศไทยโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาโครงการลานกีฬาวัฒนธรรมชุมชน
โดย คุณอิสริยา ปุณโณปถัมภ์ (สถาบันอาศรมศิลป), ผลของการชัดการนั่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานที่มีต่อความดันโลหิตขณะพักของผู้ใหญ่ช่วงตันเพศขายที่มีภาวะอ้วน โดย อาจารย์ดร.ริศ วงศ์พิพิธ (คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), การพัฒนาสร้างเสริมองค์ความรู้และการเผยแพร่กิจกรรมทางกายสู่สังคมอย่างยั่งยืน โดย ผศ.ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุล (ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), การสื่อสารรณรงค์องค์ความรู้เพื่อการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายทีเพียงพอของคนไทยในช่วงสถานการณ์โควิด-19อาจารย์
โดย ดร.ซลชัย อ่านามนารถ (วิทยาสัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิตล), การวิเคราะห์กิจกรรมทางกาย พฤติกรรมเนื่อยนิ่งและการนอนหลับ ในประชากรไทย: โดยวิธี Compositional Data Analysis จากผลการสำรวจการใช้เวลาระดับประทศ โดย อาจารย์ ดร.นุซราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์ (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิตล) และการส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กในชุมชนชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย โดยคุณจุฑามาศ ราชประสิทธิ์ (มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.)
ในส่วนของหัวข้อ Active System/ Policy ประกอบด้วย การประเมินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในบริบทเมืองของไทยด้วยแผนปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโลก โดย นพ.อุดม อัวุตมางกุร (กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข), เว็บไซเพื่อการพัฒนาศักยภาพในการวางแผนและจัดเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนไทยในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูล(สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาสัยสงขลานครินทร์), ramework for Enhancing Thailand Physical Activities with Metaverse and Web3.0 Opportunities
โดย รต.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิตล (INT),การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเวชปฏิบัติ โดย รต.นพ.อภิชัย วรรธนะพิศิษฐ์ (สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์), การจัดทำระบบแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชน (Calories Credit Challenge: CCC)
โดย คุณบงกชรัตน์ โมลี (ผู้อำนวยการกองนโยบายการท่องเที่ยวกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีหา),การเพิ่มกิจกรรมทางกายของประชาชนไทยผ่านแอปพลิเคชัน นพ.ภัทรภณ อติเมธิน (สมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (TMPSA), การนำแอปพลิเคชันเบาใจไปใช้เพื่อลดความเสียงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดย คุณกฤดิ์ขนา หุตะแพทย์ (บริษัท พื่อพเมด จำกัด), How Big Data Analytics Can Support Preventive Healthcare in Thailand: A Preliminary Study
โดย อาจารย์ ดร.เจษฎา อานิล (คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล), ประสิทธิผลของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเชิงระบบด้วยแนวคิด 4PCโดยคุณปัญญา ชูเลิศ (ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค), การศึกษาผลความแตกต่างของจำนวนก้าวเดิน และระยะทางขณะปฏิบัติงานในรูปแบบที่แตกต่างกันของพนักงานในร้านสะดวกซื้อ โดย ตร.ธัญนุช ประเสริฐสกุล (คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโล่ยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช), การสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย
เพื่อฟื้นฟูย่านเก่าของเมืองอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: ย่านตลาดน้อยโดย คุณจุฤทธิ์ กังวานภูมิ (บริษัท ปั้นเมือง จำกัด), ขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศ “เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก” โดยดร.ทับทิม ศรีวิไล (กองกิจกรรมทางกาย เพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข) และ การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะด้วยกลุ่มกลไกพลเมือง โดย คุณอัญชัญ แกมเชย (ห้างหุ้นส่วนสามัญอรุณอินสยาม)
ทั้งนี้ยังมีประเด็นที่นำสนใจในเรื่องระบบข้อมูลสารสนเทศ และนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของการมีกิจกรรมทางกายในประเทศไทย โดย คุณณรากร งษ์สิงห์ (ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกาย ประเทศไทย (ทีแพค), การบูรณาการ และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภาครัฐทางด้านสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทยโดยการใช้แพลตฟอร์มช้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data platform)
โดย รศ.ด.ทศนัย ชุ่มวัฒนะ (วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยรังสิต) และการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลการวิจัยด้านกิจกรรมทางกาย สำหรับการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติ เพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Data Analytic System for Physical Activity Promotion:DASPAP) โดย คุณตนุสรณ์ โพธารินทร์ (ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค)บทเรียนจากการพัฒนา
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews