หากคุณเป็นหนี้บัตรเครดิตเพราะเห็นสินค้าอะไรออกใหม่แล้วต้องช้อป รักการซื้อของเป็นชีวิตจิตใจ มองเผินๆ คงเปรียบได้กับคนที่รักการช้อปเฉยๆ เพราะประโยชน์ของการช้อปและการใช้เงินก็มีอยู่ไม่น้อย หากแต่ซื้อมากไป จนเป็นหนี้ ลักษณะอาการแบบนี้คงไม่ดีนัก ยิ่งถ้าห้ามใจไม่ซื้อแล้วจะหงุดหงิด มีอารมณ์แปรปรวน อาจเป็นไปได้ว่า เบื้องหลังการช้อปของคุณ อาจเกิดจากอาการ Shopaholic เสพติดการช้อปปิ้ง
บทความวันนี้ เลยมีลักษณะอาการ Shopaholic เสพติดการช้อปปิ้ง และวิธีแก้ไขมาฝาก อยากรู้ว่าตัวเองเสพติดการช้อป จนใกล้จะเป็น Shopaholic แล้วหรือเปล่า เช็กที่นี่ได้เลย
Shopaholic ใช่คุณหรือเปล่า?
ก่อนอื่นเลย เรามาทำความเข้าใจกับลักษณะของผู้ที่เป็นโรค Shopaholic เสพติดการช้อปปิ้ง กันเสียหน่อย เพราะคนที่เข้าข่ายเสพติดการช้อป มักจะมีความต้องการ หรืออยากซื้อของตลอดเวลา มีความรู้สึกดีที่ได้เดินดูของ เปรียบเทียบราคา และ “ซื้อของ” ได้เป็นผลสำเร็จ แต่ก็มักจะรู้สึกดีได้แค่ช่วงเวลาเดียว จากนั้นจะรู้สึกผิดหลังจากที่ซื้อมาแล้ว เพราะรู้สึกได้เองว่า ใช้จ่ายเกินจำเป็น รู้ว่าซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ แต่บางครั้งก็ยังซื้อซ้ำของลักศณะนั้นๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนมีของเดิมๆ เต็มไปหมด ทำให้มีปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น
- มีหนี้สิน
- ทะเลาะกับคนในครอบครัว
- โกหกว่ามีคนให้มา
- บอกราคาถูกกว่าราคาจริงที่ซื้อ
- หลบๆ ซ่อนๆ เวลาซื้อของ เป็นต้น
คนกลุ่มใดเสี่ยงต่อการเป็น Shopaholic ?
ทางเว็บไซต์ รามา ชาแนล ให้ข้อมูลน่ารู้ไว้ว่า อาการ Shopaholic เสพติดการช้อปปิ้ง เป็นได้ตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไป เพราะวัยนี้เป็นวัยที่มีกำลังซื้อในระดับหนึ่ง ส่วนมากผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย แต่ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ เสพติดการช้อปปิ้ง มีหลายปัจจัยด้วยกัน และอาจมาจากตัวบุคคล เช่น
- มีภาวะซึมเศร้า
- ไม่รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง
- มีภาวะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- มีความวิตกกังวล
- เป็นคนสมาธิสั้น เป็นต้น
นอกจากตัวบุคคล ปัจจัยทางสังคม ก็มีส่วนกระตุ้นให้คนตกอยู่ในภาวะ เสพติดการช้อปปิ้ง ได้ เช่น ช่องทางการช้อปออนไลน์ สื่อโฆษณาต่างๆ เพราะปัจจุบันสื่อเหล่านี้ เข้าถึงคนได้ง่ายขึ้น
วิธีสังเกตตัวเองว่าเป็น Shopaholic หรือไม่
สามารถสังเกตดูตัวเองได้ว่า ใช้จ่ายมากเกินจำเป็นหรือไม่ เช่น ซื้อทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้, ซื้อซ้ำๆ ทั้งที่มีอยู่แล้ว, ซื้อแบบหลบๆ ซ่อนๆ คนในครอบครัว ปัจจัยเหล่านี้ อาจเข้าข่ายเป็นโรค Shopaholic เสพติดการช้อปปิ้ง ได้ โดยภาวะเสพติดการช้อปปิ้งที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต ดังนี้
- ทะเลาะกับคนในครอบครัว ทำให้เกิดการแยกตัวออกจากสังคม
- เกิดภาวะซึมเศร้า
- ภาวะวิตกกังวล
วิธีรักษาอาการ Shopaholic
การรักษาอาการ Shopaholic สามารถทำได้โดยให้คำปรีกษาเพื่อปรับพฤติกรรม ในต่างประเทศมีการจัดกลุ่มบำบัด ด้วยการนำคนที่มีภาวะเสพติดการช้อปมารวมกลุ่มกัน และปรับพฤติกรรมร่วมกัน โดยเริ่มต้นจาก พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติ เพื่อทำความเข้าใจ รวมถึงการตระหนัก และเท่าทันอารมณ์ของคนที่เป็นโรคว่าเกิดจากอะไร จึงช่วยให้แก้ไขพฤติกรรมได้ง่ายขึ้น เช่น ซื้อของเพื่อบำบัดความเหงา บำบัดความเครียด บำบัดความเศร้า เป็นต้น
เลิก Shopaholic ได้ ถ้าใจแข็งพอ
วิธีลดกิเลสในการช้อปยากลำบากแค่ไหน เราเข้าใจ แต่ถ้าเราเห็นถึงผลกระทบของการปล่อยให้ความอยากได้อยู่เหนือความควบคุมของสตางค์ในกระเป๋า ย่อมไม่เป็นผลดีแน่ วันนี้เรามี 5 วิธีลดกิเลสในการช้อป ที่ทุกคนทำได้ง่ายๆ ถ้าใจแข็งพอ
ตั้งงบประมาณการช้อปปิ้งในแต่ละเดือน
เคยช้อปจนเป็นนิสัย จะให้เลิกช้อปเด็ดขาดเลยก็คงดูจะหักดิบเกินไป เอาเป็นว่า แค่ลองตั้งงบประมาณที่แน่ชัดให้ตัวเองมีโอกาสใช้เงินซื้อความสุขให้ตัวเองอย่างเหมาะสมบ้างก็ได้ เช่น่ บางคนอาจหักรายได้ประมาณ 10-20% เพื่อกันเงินส่วนนี้ไว้ใช้จ่ายกับเรื่องฟุ่มเฟือยในแต่ละเดือน
รวบรวมรายการสินค้าที่ต้องซื้อทั้งหมด
เมื่อไปถึงซูปเปอร์ หรือเข้าเว็บเผื่อสั่งสินค้า สิ่งแรกที่ควรทำคือ ควรพุ่งความสนใจไปที่สินค้าที่ต้องการ ไม่ต้องสนใจอย่างอื่น หรือโปรอื่น (เว้นแต่คุณจะกันงบการช้อปไว้แล้ว) ขอเพียงเลือกดูเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้งานหรือที่เรากำลังต้องการจริงๆ เท่านั้น อย่าเถลไถลช้อปไปคลิกไปจะทำให้เราเสียเงินเพิ่มไปอีกนะ
เทียบราคาหลายๆ ร้านก่อนซื้อ
สินค้าแบบเดียวกันบางทีแต่ละร้าน แต่ละเว็บ ก็ขายในราคาไม่เท่ากัน เราต้องไล่เทียบดูว่าร้านไหนถูกที่สุด นอกจากนี้ก็ควรเปรียบเทียบในเรื่องของค่าส่งสินค้าด้วย เพราะบางร้านสินค้าอาจจะราคาถูกกว่า แต่พอบวกค่าส่งไปแล้วกลับมียอดที่ต้องจ่ายแพงกว่าอีกร้านหนึ่ง พอเทียบไปเทียบมา สุดท้ายก็อาจทำให้ไม่ซื้อ ประหยัดไปอีก
สำรวจโปรโมชั่นแบบนักช้อปมือโปร
เวลาเลือกซื้อของ อย่าลืมมองหาโปรโมชั่นเสริม ซึ่งโดยปกติแล้วเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ร้านค้าหรือแบรนด์ต่างๆ เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกค้า เช่น โค้ดส่วนลดพิเศษ ของแถม คูปองต่างๆ ตลอดจน ทางเลือกในการผ่อนชำระด้วยบัตรเครดิตจากธนาคารต่างๆ
อย่าวิ่งตามเทรนด์
กระแสแฟชั่นเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน และส่วนมากก็เป็นอะไรที่มาไว ไปไว ฉะนั้น หากเป็นไปได้ ก็อย่าพยายามอย่าวิ่งตามเทรนด์จะดีกว่า หรือถ้าอดใจไม่ไหวจริง ๆ จะซื้อมาสนองความต้องการสักหน่อยก็ได้ ขอเพียงทุกอย่างอยู่บนความพอดี ไม่มากเกินไป ก็เท่านั้น
สุดท้ายนี้ถึงแม้ว่า อาการเสพติดการช้อปปิ้ง จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ปัจจุบันผู้ชายก็สามารถเป็นได้เช่นกัน จากการสำรวจพบว่าผู้ชายจะช้อปปิ้งสิ่งของที่อยู่ในความสนใจของตนเอง เช่น รถยนต์ ของแต่งรถ เกมส์ โมเดลสะสม สินค้าไอที เป็นต้น
หากคุณเป็นคนชอบช้อป แต่ยังไม่ถึงขั้น เสพติดการช้อปปิ้ง และยังสามารถควบคุมพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยของตัวเองได้ และกำลังมองหาบัตรเครดิตที่ให้คุณช้อปได้แบบคุ้มค่า คลิกที่นี่ เพิ่มดูเพิ่มเติม
ไม่พลาดทุกเรื่องราวข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ LINE @MoneyGuruThailand
ข้อมูลอ้างอิง Rama Channel